ทุกวันนี้ผมเชื่อว่าหลายคนจะมองหารถยนต์สักคัน แค่เพียงสมรรถนะ,การออกแบบ คงไม่พอ รถสมัยใหม่ถูกปลูกฝังให้มันต้องปลอดภัยในการขับขี่มากขึ้น ระบบความปลอดภัยใหม่ๆ ถูกแนะนำเข้ามาตอยโจทย์ หลายระบบช่วงแก้ไขปัญหา ผ่านการแจ้งเตือน คล้ายคุณมีกุมารทองประจำรถ ไม่ว่าจะช่วยเบรก ,ช่วยชดเชยพวงมาลัย ,แจ้งเตือน หรือ บางระบบในปัจจุบัน อาจรั้งเข็มขัดให้ด้วย 

ระบบต่างๆ ที่ผมได้พูดมาข้างต้น ทั้งหมด เราต่างเห็นในยานยนต์ยุควใหม่มาแล้วทั้งสิ้น พวกมันถูกเรียกว่า ระบบความปลอดภัยเชิงป้องกัน หรือ  Active Safety  พวกมันคือแขนงหนึ่งของระบบขับกึ่งอัตโนมัติ ที่สามารถทำงานแทนคุณได้ในบางจังหวะ เช่น คอยดึงพวงมาลับเมืองรถหลุดเลน , เบรกเมืื่อพบคนเดินเท้าหรือรถตัดหน้า ความสามารถต่างๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นพร้อมราคาค่าตัว โดยผู้ซื้อและผู้ผลิตหวังว่าจะปลอดภัยในการขับขี่มากขึ้น แต่มันอาจกลายเป็นว่าระบบทำให้ ผู้ขับขี่ไม่ตั้งใจขับรถ และเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี 

ข้อถกเถียงเรื่องการใส่ระบบช่วยเหลือในการขับขี่ประเภท  Active Safety   ลงไปในรถยนต์มากขึ้นวันนี้ กำลังกลายเป็นประเด็นคำถามถึงแง่ความปลอดภัยในการขับขี่ ว่า ระบบต่างๆ เหล่านี้ทำให้ผู้ขับขี่ประมาทเลินเล่อในการขับรถ หรือ กลายเป็นช่วยให้ความปลอดภัยมากขึ้นกันแน่ 

ประเด็นหลักสำคัญ ถูกถกเถียงหยิบยกมาจาก ทฤษฏี  Yerkes-Dodson , สองนักวิจัยสมัยเมอร์เซเดสยุคเริ่มต้น พวกเขาให้คนลองขับรถในคอกม้าและปฏิบัติตตามคำสั่งของผู้วิจัย พบว่า ผู้ขับขี่จะตั้งใจในการขับขี่ในระดับหนึ่ง เมื่อมีการช่วยเหลือมากไป พวกเขาจะเลิกสนใจต่อการทำสิ่งใดสิ่งหนึง 

กฎดังกล่าวถูกนำมาวิพากษ์ ถึงการติดตั้งระบบช่วยขับขี่แบบ  Active Safety   ในปัจจุบัน ว่ามีมากเกินความจำเป็นจนคนใช้ระบบและสนใจหรือตั้งใจในการขับขี่น้อยลงหรือไม่ 

ปัญหาดังกล่าวมาจากความสามารถรถยนต์ยุคใหม่ที่ทำออกมาให้ขับง่ายขึ้น รถสมัยนี้เบรกเอง , ช่วยคุมพวงมาลัย เมื่อออกนอกเลน , เตืิอนให้คุณไป หรือ หยุด เมื่อมีอันตรายข้างหน้า มันทำให้เราใส่ใจมีสมาธิในการขับรถน้อยลง ในขณะที่รถช่วยเรามากขึ้น 

การเข้ามาอย่างรวดเร็วของระบบความปลอดภัยเชืงป้องกัน ทำให้เกิดผลกระทบวงกว้างต่อการขับขี่คนปัจจุบันบางกลุ่ม และคนรุ่นใหม่ที่เริ่มหันมาขับรถ โดยเฉพาะคนที่มีโอกาสใช้รถมีระบบตัวช่วยเหล่านี้ตั้งแต่เริ่มต้น นักขับหน้าใหม่กลายเป็นถูกสอนโดยรถยนต์ให้ไม่ต้องห่วงใยอะไร เนื่องจากรถจะช่วยคุณทุกอย่างในการขับขี่ 

การได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันถูกนำไปติดตั้งรถยนต์มากมายหลายรุ่นในปัจจุบัน กลับกันมันก็ทำให้ผู้ขับขี่ไม่มีสมาธิในการขับขี่มากขึ้น ไม่ตั้งใจในการขับรถเหมือนเช่นยุคก่อน รวมถึง ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์และทักษะในการขับขี่ทั้งที่มีความจำเป็นไม่แพ้กัน  
ถ้าให้คนสองคน มาลองขับรถท่ามกลางถนนที่มืดสนิท คนขับรถที่ไม่พึ่งระบบตัวช่วยจะมีความตั้งใจในการขับขี่ ระแวดระวังมากกว่า เนื่องจากไม่มีความช่วยเหลือจากระบบช่วยเหลือ กลับกันคนที่พึ่งตัวช่วยมาตลอด พวกเขาจะไม่ค่อยระวังอันตราย เพราะรู้ว่ารถพึ่งได้ และบางทีอาจไม่ทราบถึงภยันตรายที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ 

Volvo-Safety-3[8]

ไบรอัน เรเมอร์ นักวิจัย   MIT  จาก  Agelab   กล่าวอย่างน่าสนใจกับ   Wired.com  ว่า เราต้องการเพิ่มความต้องการ และเราไม่เคยลดความต้องการของลูกค้าเลย เราอาจต้องการความกดดันเพืื่อทำงานให้มีประสิทธิภาพ มันไม่เกี่ยวกับว่า คุณต้องใส่หรือไม่ควรต้องใส่ใจ มันเป็นเรื่องของพฤติกรรมในการประะมวลผลของสมอง

คริฟฟอร์ด นาสส ศาสตราจารย์ จากมหาวิทยาลัย แสตนฟอร์ด กล่าวว่า  คนเรามักจะมีความสุขถ้าได้ขี้เกียจบ้าง มันเป็นกฎข้อสำคัญของการออกแบบมาตรการความปลอดภัย ดังนั้นถ้าคุณทำให้พวกเขามีโอกาสขี้เกียจได้ แน่นอน พวกเขาจะรับมันไว้อย่างไม่ต้องสงสัย   

คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ เป็นคนที่ทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน  คนพวกนี้พยายามหาสิ่งใหม่เพื่อลดการทำงานและทำให้พวกเขามีความสุข กับการขับรถ ผมคือ ถ้าคุณบอกว่า พวกเขามีโอกาสที่จะไม่ต้องใช้พลังงาน , เวลา มานั่งจ้องถนนอันแสนน่าเบื่อ พวกเขาจะไม่ปฏิเสธคุณ แต่นั่นไม่ได้ทำให้พวกเขาปลอดภัยขึ้น แต่มันทำให้พวกเขามีความสุขเท่านั้นเอง 

Mazda3-Groupt-Test (4)

ไบรอันกล่าวทิ้งท้ายว่า ปัญหาส่วนใหญ่ ของคนใช้ระบบความปลอดภัยเชิงป้องกัน คือพวกเขาไม่รู้จักเรียนรู้การใช้งานอย่างถูกวิธี คิดเพียงเมื่อมีให้ใช้ก็ใช้ เปิดตัวช่วยไว้ตลอดเวลา 

คนส่วนใหญ่คิดว่า การมีตัวช่วยเท่ากับไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ และการศึกษาในรถยนต์จำเป็นเพียงผู้เริ่มต้นที่จะขับรถเท่านั้น ทั้งที่ปัจจุบันความสามารถของรถมีมากขึ้น ระบบ   Active Safety   จำเป็นต้องให้คนรับทราบถึงความสามารถในการทำงานของระบบ และข้อจำกัดในการใช้งาน หน้าที่เหล่านี้เป็นของตัวแทนจำหน่าย และผู้ผลิตรถยนต์ที่จะต้องแจกแจงให้ลูกค้ามีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ 

ส่วน นาส กล่าวว่า เราไม่วรให้ระบบความปลอดภัยเหล่านี้มาเป็นสัญชาติญาณในการขับขี่แทนเรา แต่เราต้องเป็นผู้คุมรถและมีความตั้งใจในการขับขี่ ความจจริงคืิอ มันอาจจะช่วยเรา  แต่ก้มีหลายสถานการณ์ที่พวกมันวางใจไม่ได้หรือไม่ทำงาน เนื่องจากเป็นข้อจำกัดของระบบ 

ระบบความปลอดภัยเชิงป้องกัน เป็นผู้ช่วยที่ดีในการขับขี่ พวกมันมีความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งที่เราอาจะคาดไม่ถึง แต่การพึ่งระบบมากเกินไปก็ใช่จะดีเช่นกัน ถ้ารถมีตัวช่วยเหล่านี้ จงจำไว้ว่าคุ๊ใช้มันอย่างถูกต้อง และขับขี่ด้วยตัวเองก่อน จะเริ่มเรียกหาตัวช่วยเมื่อคุณต้องการความปลอดภัยในการขับขี่มากขึ้น 

ข้อมูลบางส่วนจาก  Wired.com  

ติดตามข่าวสารและบทความดีๆ จากพวกเรา Ridebuster.com



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่