ท่ามกลางข่าวสารยานยนต์มากมายนีอบปี 2019 เราอาจจะหลงลืมบางเรื่องสำคัญๆ มากมายในปีนี้ ซึ่งวันนี้ ทีมงาน Ridebuster เรามีความยินดี จะทบทวน เรื่องราวต่างที่น่าสนใจ นอกกระแสรถใหม่ ในรอบปีที่ผ่านมา

 

สู้ PM 2.5

เริ่มต้นปีทีผ่านมา รัฐบาลบ้านเรา ก็มีปัญหาใหม่ให้ขบคิดทันที เมื่อกระแสความนิยมรถยนต์เครื่องดีเซลตลอดหายสิบปี ประกอบกับสภาพอากาศหนาวเย็น ให้เกิดเรื่องปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือที่เราหลายคนรู้จักกันดีในชื่อ   PM 2.5

ฝุ่นเหล่านี้เกิดจากหลายกระบวนการสำคัญ ทั้งการเผาไหม้ของโรงงานภาคอุตสาหกรรม และอื่นๆ อีกมากมาย หลายหลาก แต่ที่ดูจะเป็นปัญหาจริงๆ คือ รถเครื่องยนต์ดีเซล ที่ได้รับความนิยมจากคนไทย ประกอบกับระยะหลังมีการก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร

Mitsubishi Triton 2019

ปัญหานี้จึงเกิดขึ้น เช่นเคยมีความพยายามลดปัญหาฝุ่น ด้วยการฉีดละอองน้ำ และห้ามปรามรถบรรทุกวิ่งในช่วงเวลาที่กำหนด ทว่า ตัวการจริงๆ อาจจะอยู่ที่รถนั่งเครื่องยนต์ดีเซล โดยเฉพาะบรรดารถกระบะและอเนกประสงค์จากกระบะ ที่นังคงยึดติดกับมาตรฐานปล่อยไอเสียระดับยูโร 4

จนภาครัฐออกมาล้ำว่า จะให้ภาคเอกชนเร่งศึกษากระบะมาตรฐานไอเสียยูโร 5 เล่นเอาหลายค่ายเต้น เพราะไม่สามารถทำได้ในเวลาอันสั้น จึงมีการขอยืดเวลาออกไป เล็กน้อย เพื่อศึกษาและดูแนวโน้ม รวมถึงต้นทุน ทางด้านการติดระบบกรองไอเสียสำหรับรถในประเทศไทย

บางแกล่งข้อมูลชี้ว่า เราอาจจะได้เห็นกระบะยูโร 5 จากบรรดาเจ้าตลาดในช่วง ปี พ.ศ. 2563  ก็เป็นไปได้

 

เปิดโรงงาน ซูบารุ

ซูบารุ แบรนด์รถยนต์จากญี่ปุ่น ได้ฤกษ์เดินสายการผลิตโรงงานแห่งใหม่ อันดับที่ 3 นอกประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ หลังจากเป็นข่าวมายาวนาน ก็มาถึงวันเป็นจริงเสียที

โรงงานแห่งนี้เป็นการร่วมทุนระหว่าง ซูบารุ คอร์เปอร์เรชั่น กับ ทาง ตันจง อินเตอร์เนชั่นแนล ในฐานผู้จัดจำหน่าย ซูบารุ ในภูมิภาคเอเชีย การเปิดโรงงานแห่งนี้ ทำให้ซูบารุสร้างความเชื่อมั่นแบรนด์ได้ดีขึ้น เรื่องอะไหล่ มีการบริหารจัดการดีขึ้น

ปัจจุบันโรงงานแห่งนี้ผลิตรถยนต์ ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์ใหม่ เพียงรุ่นเดียว และมีแนวดน้มในการผลินรถรุ่นอื่นๆ อีก 4 รุ่น ตามแผนงานของทางบริษัท ในอนาคต

 

รถไฟฟ้า ราคาต่ำกว่า 1.5 ล้านบาท

ช่วงกลางปี มา   MG   บริษัทรถยนต์แบรนด์อังกฤษทุนจีน มาเขย่าตลาดประเทศไทย ด้วยรถยนต์อเนกประสงค์ไฟฟ้าราคาถูกที่สุด เท่าที่คนไทยจะซื้อหาได้

MG ZS EV   แนะนำตัววางขายในไทยอย่างเป็นทางการ ในราคา 1,190,000 บาท เขย่าตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ที่เคยทำตลาดด้วยราคาเฉียดๆ 2 ล้านบาท และคนที่ซื้อส่วนใหญ่ก็ยังเป็นผู้มีอันจะกินทั้งหลาย

การทำให้รถมีราคาถูกได้มากขนาดนี้ ของเอ็มจี มีปัจจัยหลายอย่า งได้แก่ ตัวรถเอง ก็พัฒนาจาก  MG ZS  เดิม ที่มีการวิศวกรรมเตรียมพร้อมไว้อยู่แล้ว , การได้อานิสงค์ทางภาษี จากข้อตกลงการค้าไทย-จีน และ ท้ายสุดที่น่าชื่นชม ทางเอ็มจี หวังว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะเกิดขึ้นไทย

ยอดขายรถรุ่นนี้มาทรงดีมาในช่วงหลายเดือนทีผ่านมา ถึงจะไม่หวือหวามากมายนัก ก็ถือว่าเดินดีกว่าหลายค่ายที่ทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้า เช่นกัน

 

เตรียมยกเลิก แก๊สโซ ฮอล 91

กระแสเตรียมยกเลิกน้ำมัน 1 ชนืดออกจากสถานีบริการ มีกระแสพูดถึงมาตั้งแต่ช่วงกลางปี จนในที่สุด ค่อนข้างชัดเจนว่า ปี หน้า พ.ศ. 2563 เราจะอำลา น้ำมันแก๊สโซฮอล 91

สาเหตุที่ภาครัฐเลือกเลิกขาย แก๊สโซฮอล 91 เนื่องจากราคาต่างจากแก๊สโซฮอล 95 ไม่มาก ประกอบกับ ภาครัฐต้องการส่งเสริมให้ น้ำมัน  E20   เป็นพื้นฐานใหม่ของน้ำมันในประเทศไทย

เดิมทีภาครัฐไม่กล้ายกเลิก เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบกับทางผู้ใชรถจักรยานยนต์ จนกระทั่งมีความชัดเจนในเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

 

ซูบารุอันดับ 2 SUV

ช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา แบรนด์ ซูบารุ หน้าชื่นตาบานอีกครั้ง หลังจากออกมาเปิดเผยว่า ทางแบรนด์ สามารถขายรถยนต์   Subaru  Forester  ใหม่ จะมียอดขายเฉลี่ยต่อเดือน สูงจนเป็นรองเพียงเจ้าตลาด ฮอนด้าเท่านั้น

ยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น มาจากความต้องการของลูกค้า ที่เล็งเห็นความน่าสนใจของตัวรถเอง ขณะที่ทางซูบารุ ไม่ได้มีการโปรโมทรถ หรือ สื่อสารทางการตลาดมากมายนัก ทั้งหมด เรียกว่าเป็นไปด้วยกลไกตลาด และส่วนหนึ่งจากผู้ใช้ที่เริ่มได้รับรถใช้งานตั้งแต่หลังเปิดโรงงาน ก็พร้อมส่งมอบทันที รวมถึงในช่วงเวลาเดียวกัน ทางซูบารุ เริ่มส่งมอบรุ่น   Eyesight  ออกสู่ตลาด มียอดสั่งจองเจ้ามาจำนวนมาก ทำให้ ซูบารุ ก้าวขึ้นมาในอันดับที่ 2 ในช่วงเวลาหนึ่ง เป็นปรากฏการณ์ ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน

 

ดีเซล  B20 – B10

ไตรมาส 3 ภาครัฐมีเรื่องสำคัญต้องขบคิด ในการช่วยเกษตรกร น้ำมันปาล์ม ที่มีราคาตกต่ำ เดิมทีปาล์มน้ำมัน ถูกนำมาผลิต  ไบโอดีเซลอยู่แล้ว และที่ผ่านมา มีการเพิ่มส่วนผสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนต้นปี พ.ศ. 2562 มีการผสมในอัตราร้อยละ 6.5 ไม่เกิน 7.0 ตามประกาศในราชกิจนุเบกษา

ด้วยความตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ภาครัฐ จึงตัดสินใจให้ทดลองพัฒนาน้ำมันดีเซล B20 ขึ้นมา เริ่มแรกตั้งเป้าไปที่กลุ่มรถยนต์บรรทุกก่อน จนกระทั่งภายหลังมาโฟกัส ที่กลุ่มรถกระบะส่วนบุคคล เพิ่มเติม จนบริษัทรถยนต์ชั้นนำ เช่น โตโยต้า, อีซูซุ ต้องรีบตื่นมาเด้งรับ ว่ารถใหม่ที่ขายอยู่สามารถใช้ได้เช่นกันอย่างไม่มีปัญหา สร้างความโกลาหลอยู่พักใหญ่

ก่อนที่หลายค่ายจะเริ่มหันมา ประกาศรองรับน้ำมัน  B20   ต่อ เนื่อง จนวันนี้เรียกว่า แทบขะครบทุกค่ายที่ได้รับความนิยมจากลูกค้า ทางภาครัฐเองหวังว่า การจูงใจให้คนหันมาใช้   B20   จะช่วยลดฝุ่น  PM2.5   ได้บ้าง แต่จากการศึกษาในต่างประเทศ ชี้ว่า ฝุนลดลง แต่จะปล่อยสารก่อมะเร็งมากขึ้น

 

มาสด้า รุก ครอสโอเวอร์ 7

มาสด้า เป็นค่ายที่สร้างตลาดใหม่ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และล่าสุดพวกเขากลับเข้ามาด้วยรถยนต์อเนกประสงค์ขนาดใหญ่ 7 ที่นั่งเต็ม (8 ที่นั่งสำหรับบางรุ่น) ใน   Mazda CX-8

Mazda CX-8   เกิดขึ้นจากความพยายามของมาสด้า ต้องการแนะนำรถยนต์อเนกประสงค์ขนาดใหญ่ เข้าขายในประเทศญี่ปุ่น ที่ผ่านมาพวกเขาเคยทำตลาดด้วย  CX-9   มันกลับไม่ประสบความสำเร็จนัก เนื่องจากรถมีขนาดใหญ่จนไม่ถูกใจลูกค้า

งานนี้ก็เลยเอา มาสด้า CX-5   ผสม CX-9   เขย่าออกมาเป็น  CX-8  ให้ลูกค้าได้มีโอกาสจับจองกัน ราคาพอๆ กับ   PPV   ที่ขายในปัจจุบัน จนต้องมีหันมามอง แถมออพชั่นตัวรถก็มาในแบบเต็มๆ เติมความหรูมาได้ชนิดที่หลายคนต้องการ มีให้เลือก 2 เครืองยนต์ คือ เบนซิน 2.5 ลิตร และ ดีเซล 2.2 ลิตร จนเราเชื่อว่าถ้ายอดขายรุ่นนี้ไปได้ดี เราอาจจะเห็นรถรุ่นอื่นๆ มาตอบโจทย์อีก

 

หารือ โละ รถเก่า 10 ปี

กลายเป็นประเด็นสำคัญส่งท้ายปี จนเป็นกระแส   Talk of the Town   ในหมู่ผู้ใช้รถ เมื่อมีกระแสออกมาพูดถึงเรื่องการเตรียมให้ กรมสรรพสามิตร วางแนวโนยบายจัดตั้งกองทุนโละรถเก่า เพื่อกำจัดรถที่เสื่อมสภาพจนใช้งานไม่ได้ดี มีอายุมากกว่า 10 ปี ตามความสมัครใจของเจ้าของรถ กับบรรดาซากรถทั้งหลาย ที่ถูกทิ้งอยู่อย่างเกลื่อนกราด

ที่มาที่ไปเรื่องดังกล่าวมาจาก  นาย ครรชิต ไชยสุโพธิ์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งประเทศไทย ซึ่งต้องการกระตุ้นภาคอุตสาหรรมยานยนต์ หลังมียอดขายลดลงในช่วงไตมาส 3 ที่ผ่านมา

ประเด็นสำคัญ ในเรื่องนี้ คือ ให้เจ้าของรถเก่า มีโอกาสนำรถเสื่อมสภาพ หรือไม่ใช้แล้วไปกำจัดทิ้ง ตามกระบวนการที่ถูกต้อง โดยจะได้รับเงิน หรือ ส่วนลด เมื่อซื้อรถคันใหม่ โดยเงินอุดหนุนก็มาจากตอนซื้อรถครั้งแรก จัดตั้งเป็นกองทุนบริหารและจัดการ

จากกระแสดังกล่าว หลายคนสนใจ ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารังแกประชาชน ที่มีรายได้น้อย  ส่วนกรมสรรพสามิต เผยยังไม่มีการหารือในเรืองนี้จากหน่วยงามที่เกี่ยวข้อง คงต้องรอดุว่ารัฐจะเอาจริงหรือไม่

 

การมา ของรถเล็ก พันเทอร์โบ

ส่งท้ายปี พ.ศ. 2562 กระแสรถยนต์นั่งขนาดเล็กเครื่องยนต์ 1.0 ลิตร เทอร์โบ ทำเอาหลายคนสนใจจะซื้อรถใหม่ขึ้นมาทันที ที่ผ่านมารถเล็กเครื่องยนต์เทอร์โบไม่เคยมีขายในไทย

แต่ที่มีในปัจจุบันมาจาก การปรับโครงสร้างภาษีเป็นจัดเก็บตามการปล่อยไอเสีย หรือ Co2  บริษัทผู้ผลิต จึงตัดสินว่า การนำเครื่องยนต์เทอร์โบเข้ามาจำหน่าย จะเป็นทางออกที่ดี เริ่มจาก นิสสัน ตัดสินใจวางจำหน่าย  Nissan Almera   ใหม่  ตามมาด้วย Honda City  Turbo   เป็นรถ 2 รุ่นที่วางขายด้วยเครื่องยนต์แบบนี้ในปัจจุบัน และพวกมันไม่ได้มีราคาขายแพงมากมายนัก

 

 



แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่