เครื่องยนต์ดีเซล (Diesel Engine) น่าจะเรียกว่า เป็นขวัญชาวไทยมาช้านาน พวกเราคุ้นเคยมันเป็นอย่างดี ด้วยความเข้าใจถึงเครื่องยนต์ทรงประสิทธิภาพเหมาะแก่การใช้งาน ชุมพลังเหล่านี้อาจจะตอบโจทย์ได้ดีในหลายด้าน แต่วันนี้เราเชื่อว่ามีเรื่องที่หลายคนควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องยนต์ดีเซล

 

1.ราคาแพงกว่ารถเบนซิน

ถ้ามีรถรุ่นเดียวกันที่มีทั้งเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน คุณจะพบสัจจถธรรมว่า รถเครื่องดีเซล ราคาแพงกว่าพอสมควร รถอย่าง   Honda  CR-V , Mazda 2   และ   Mazda CX-5   รวมถึงบรรดารถยนต์จากแบรนด์ยุโรป ต่างวาง เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเกรดพรีเมี่ยม ทั้งสิ้น เนื่องจากความสามารถในการขับขี่ของมันมากกว่าเครื่องยนต์เบนซินปกติทั่วไป แถมปัจจุบันรถเหล่านี้แรงพอๆกับรถสปอร์ต มีแรงบิดสูงในรอบต่ำ เป็นเรื่องความสนุกสนานในการขับขี่ มันถูกตีเป็นมูลค่าในการขายได้ 

เครื่องยนต์ดีเซล

2.ยังไม่รองรับพลังงานทางเลือก 100%

ปัจจุบัน อาจจะมีน้ำมันดีเซลสูตรทางเลือก ออกมาวางขายกันแล้ว อาทิ  B20 , B10   เป็นต้น แต่ความจริงคือรถยนต์ดีเซล ส่วนใหญ่ ยังไม่กล้ารองรับพลังงานทางเลือกเหล่านี้ด้วยเหตุผลหลายประการทางด้านวิศวกรรม ไม่ว่าจะความละเอียดของหัวฉีด การเกิดไขในระบบน้ำมัน และอื่นๆ อีกมาก ทางวิศวกรส่วนใหญ่จึงยังไม่กล้าจะประกาศรับรองการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล

สำหรับเราในฐานะผู้ใช้เท่ากับตัดโอกาสตัวเอง ที่จะใช้น้ำมันราคาถูกลง เพื่อตอบโจทย์ในการเดินทาง  ส่วนน้ำมันดีเซลเอง ก็มีราคาขายแพงกว่า น้ำมันเบนซินทางเลือกพอสมควร แม้ว่า จะมีการผสมไบโอดีเซลแล้วบางส่วนก็ตาม

เครื่องยนต์ดีเซล

3.ค่าดูแลรักษามากกว่าที่คิด

เครื่องยนต์ดีเซลปัจจุบัน ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้น ในมุมหนึ่งของศักยภาพ ก็หมายถึง ค่าบำรุงรักษาและการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ ตามมาเป็นเงาตามตัว

ไม่น่าแปลกใจนักที่รถดีเซล สมัยนี้ดูจุกจิกกว่าเดิม อาทิ การต้องดูแลรักษาระบบเทอร์โบชาร์จ , การต้องล้างหัวฉีดน้ำมันสม่ำเสมอ , การต้องตรวจสอบการทำงานของระบบอัดอากาศเป็นต้น รวมถึงที่หลายคนชอบมองข้ามไปสนิท คือการดูลระบบกรองไอเสีย หรือ  Diesel Particular Filter  ซึ่งมีแนะนำในรถยนต์ดีเซล ที่ใช้มาตรฐานระดับ   Euro  5   เป็นต้นไป 

ทั้งหมดที่กล่าวมา คุณไม่สามารถเลี่ยงค่าใช้จ่ายได้เลยในการบำรุงรักษา

 

4.ไม่ได้ทนทานเหมือนเดิม

ความคิดคนไทย ข้อหนึ่ง คือ รถเครื่องยนต์ดีเซลทนทานใช้งานยาวๆ ได้ยันลูกบวช อะไรเทือกนั้น

ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ อาจไม่เป็นจริงในปัจจุบัน เนื่องจากเครื่องยนต์ดีเซล มีส่วนประกอบส่วนควบเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นกว่าเดิม ระบบสำคัญ อาทิ เทอร์โบชาร์จ , อินเตอร์คูลเลอร์ , กรองดีเซล และระบบคอมมอนเรล ทั้งหมด ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างดีเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานมีประสิทธิภาพ

และจากข้อมูลในการใช้งานระยะยาว ส่วนใหญ่พบว่า ระบบเทอร์โบชาร์จ และ อินเตอร์คูลเลอร์ เป็นระบบที่มีปัญหาในการทำงานมากที่สุดเมื่อใช้งานไปในระยะยาว ซึ่งจะพังเร็วพังช้า ก็ขึ้นอยู่กับสภาวะการใช้งาน และการขับขี่ของผู้ใช้

รถใหม่ EURO 5

5.แรงบิดดี ..แต่ไม่ใช่กับแรงม้า

รถดีเซลทั้งหมดในปัจจุบันมีแรงบิดดีเยี่ยม ต้องขอบคุณระบบเทอร์โบชาร์จเจอร์ ช่วยเพิ่มแรงบิดให้เครื่องยนต์แบบนี้ในปัจจุบัน รถที่มีแรงบิดเยอะ อาจไม่ใช่รถที่มีอัตราเร่งดีนัก มันออกตัวแรงจริง แต่อาจไม่ใช่กับเวลาเร่งแซง เราจึงได้เห็นกระบะสมัยใหม่หลายรุ่นพยายามทำตัวเลขแรงม้าเพิ่มจนลบข้อด้อยด้านนี้ได้

แรงบิดมหาศาลเครื่องดีเซล  เป็นประโยชน์เมื่อ คุณลุยป่าฝ่าดง , ขับบรรทุกของหนักๆ หรือ การลากจูง ถ้าคิดว่า แทยไม่ได้ใช้ความสามารถของแรงบิดแล้ว รถเครื่องเบนซินอาจจะตอบโจทย์กว่า

 

6.เสียงดังกว่า

ถ้าคุณเป็นคนขี้เกรงใจ จำไว้เลยว่า รถเครื่องยนต์ดีเซลไม่ใช่มิตรแท้ของคุณ แม้นว่าปัจจุบันเครื่องยนต์ดีเซล-จะไม่ได้เสียงดังอึกทึกลั่นซอยเท่ารถ อีซูซุ เครื่องยนต์มังกรทอง สมัย 20-30 ปีที่แล้ว แต่อย่างไรเสียด้วยการทำงานด้วยระบบอัดอากาศมันก็ยังเสียงดังกว่าอยู่ดี โดยเฉพาะเมื่อยิ่งใช้งานไปนานๆ ไม่มีทางปฏิเสธได้เลยว่า พวกมันจะยิ่งเสียงดัง ถึงคุรอาจจะไม่ได้ยิน เนื่องจากรถอาจเก็บเสียงในห้องโดยสารดี แต่คนข้างนอกจะยังได้ยินพวกมันชัดเจน

เครื่องยนต์ดีเซล

7.ดีเซล ไม่ใช่รถที่เหมาะสมความประหยัดขับในเมือง

คุณอาจแปลกใจที่เราพูดแบบนี้ แต่นี่เป็นเรื่องจริงที่อยากจะบอกหลายคนมานาน เครื่องยนต์ดีเซลไม่ได้ประหยัดกว่าเครื่องเบนซินในเมืองนัก นั่นเพราะการขับในการจราจรแบบ   Stop and Go   เครื่องยนต์จะไม่ทำรอบเครื่องยนต์ต่ำสุดเหมือนการวิ่งทางยาว ซึ่งเป็นจุดที่เครื่องยนต์ดีเซล ดีกว่า

การทดสอบของ   Ridebuster.com เมื่อไม่นานมานี้ ชี้ว่า ในการขับขี่ในเมืองด้วยเครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร ใน   Mercedes Benz  C220d   เราทำอัตราประหยัดได้  11.94 ก.ม./ลิตร  (เครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร เทอร์โบ 194 แรงม้า)  ในรถกระบะ   Ford Ranger XLT 4 ประตู เราทำอัตราประหยัดได้ 10.55 ก.ม./ลิตร (เครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตร เทอร์โบ 180 แรงม้า) 

เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ขนาดเท่ากันที่มีเทคโนโลยีและน้ำหนักรถใกล้เคียงกัน อย่าง   Subaru  Forester ได้อัตราประหยัด 10.52 ก.ม./ลิตร หรือในกลุ่มรถเก่ง เรามีข้อมูล   Mazda 3  รุ่นปัจจุบันอัตราประหยัดขับใช้งานจริงในเมืองอยู่ที่ 10.6 ก.ม./ลิตร

 

รถเครื่องดีเซลอาจจะมีดีหลากหลาย แต่ก็มีข้อเสียเปรียบหลายอย่างเช่นกัน ทั้งหมดที่เล่ามานี้เป็นข้อเท็จจริง ที่คุณควรรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์เครื่องดีเซล  

แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่